. ยางซีเอสเอ็ม (ยางไฮปาลอน) CHLOROSULPHONATED POLYETHYLENE RUBBER (CSM) โครงสร้างของยาง CSM ยาง CSM (CHLOROSULPHONATED POLYETHYLENE RUBBER) เป็นยางสังเคราะห์ที่ผลิตจากโพลีเอทิลีนโดยคลอรีนและคลอโรซัลโฟเนตและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ยาง CSMประเภทต่างๆนั้นแบ่งตามระดับของคลอรีนและคลอโรซัลโฟโฟเนต รวมถึงพอลิเอทิลีน สามารถต้านทานโอโซนสภาพอากาศ, น้ำมัน และ สารเคมีได้เป็นอย่างดี และสามารถผลิตงานที่เป็นงานสีได้อีกด้วย คุณสมบัติของยาง CSM ต้านทานโอโซน สภาพอากาศ ทนน้ำมันและสารเคมีสูง มีคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ทนความร้อนสูง สินค้าที่ผลิตจากยาง CSM ยาง CSM ใช้สำหรับการผลิตลูกกลิ้งยาง, ท่อน้ำมัน, ท่อเบรก, ท่อไฮดรอลิค, สายไฟฟ้า, บรรจุภัณฑ์, ปะเก็น และ กาว ฯลฯ
ยางไนไตรล์-Nitrile rubber (NBR) โครงสร้างของยาง NBR ยางไนไตรล์ (Nitrile rubber) หรือยางกันน้ำมัน มีชื่อทางการค้าว่า ยาง NBR ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นเกี่ยวกับการกันน้ำมัน ยาง NBR นั้นเป็นโคพอลิเมอร์ของอะคริโลไนไตรล์ (acrylonitrile) และบิวตะไดอีน (butadiene) ยางชนิดนี้มีความเป็นขั้วสูง จึงมีความทนทานต่อเชื้อเพลิงปิโตรเลียม น้ำมันหล่อลื่น และตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี โดยยาง NBR นั้นจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่เป็น บิวตะไดอีน (butadiene) และ อะคริโลไนไตรล์ (acrylonitrile) ซึ่งบิวตะไดอีน (butadiene) เป็นส่วนของความยืดหยุ่น ส่วนค่า อะคริโลไนไตรล์ (acrylonitrile) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงค่ากันน้ำมัน ยิ่งมีค่าสูงมาก คุณสมบัติการกันน้ำมันก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยาง NBR ยังมีราคาที่ไม่สูงมาก คุณสมบัติของยาง NBR ความยืดหยุ่นของยาง NBR จะมีความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับยาง SBR และต่ำกว่ายางธรรมชาติ ปริมาณอะคริโลไนไตรล์ (acrylonitrile) […]
ยางอีพีดีเอ็ม ETHYLENE PROPYLENE DIENE RUBBER (EPDM) คุณสมบัติของยางอีพีดีเอ็ม [EPDM] • มีสมบัติเชิงกลใกล้เคียงกับยางSBR •ไม่ทนน้ำมัน •ทนความร้อนได้ดีเยี่ยม •ทนสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน •เป็นฉวนไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม •มีความต้านทานสารเคมีได้ดี โครงสร้างของยางอีพีดีเอ็ม (EPDM) ยางอีพีดีเอ็ม (EPDM) เป็นพอลิเมอร์ร่วมระหว่างเอทธิลีนกับโพรพิลีน โดยมีไดอีนผสมอยู่ด้วย 2-3%) ประเภทที่มีไดอีนสูงจะให้อัตราการวัลคาไนซ์เร็ว แข็งแรงมากขึ้น และ ทนต่อแรงดึงมากขึ้นเช่นกัน ในขณะ เดียวกันก็จะค่าการยืด-หดตัวก็จะลดลงเช่นเดียวกัน ยาง EPDM จึงเหมาะสําหรับการผสมกับยางที่มีไดอีนเป็นหลัก เช่น ยาง SBR เป็นต้น นอกจากนี้ยาง EPDM ยังมีคุณสมบัติเชิงกลที่ใกล้เคียงกับยางSBR และไม่ทนน้ำมัน คุณสมบัติเด่นของยาง EPDM คือ ทนความร้อน ออกซิเจน โอโซน จึงมักใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอก เช่น ยางขอบกระจก / หน้าต่าง ชิ้นส่วนรถยนต์ รวม ถึงพื้นสนามกีฬา […]
ยางรีเคลม RECLAIM RUBBER ยางรีเคลม NR ยางรีเคลม บิวทิล ยางรีเคลมบิวทิลเป็นผลิตภัณฑ์ ที่นํากลับมาใช้ใหม่โดย ผลิตจาก ยางในรถยนต์ ซึ่งมีรูพรุนน้อยกว่าวัสดุอื่น มีความ ยืดหยุ่น และสมบัติการซึมผ่านของก๊าซต่ำ จึงสามารถเก็บ อากาศได้ดี นิยมใช้ทํายางในรถยนต์ , กาวsealants และ ผิวด้านในยางล้อรถยนต์ ยางรีเคลม NR เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทําจากยางล้อรถ ที่ใช้แล้ว มีการใช้กันอย่างแพร่หลายนิยมนําไปผลิต เป็นยางล้อรถจักรยานยนต์, เทปก่อวัสดุ , พื้นยาง (เช่นกระเบื้องยาง, พรม ฯลฯ ), แผ่นยางกันซึม, วัสดุ มุงหลังคา, และเศษยางดัดแปลงถนนยางมะตอย และ หมอนรถไฟและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
สารตัวเร่ง อีทียู 22 ACCELERATOR ETU 22 ชื่อทางเคมี: 1,3-ETHYLENE THIOUREA สูตรโมเลกุล: C3H6N2S น้ำหนักโมเลกุล: 102.17 CAS N0: 96-45-7 โครงสร้างของสารตัวเร่ง ETU คุณสมบัติ: สารตัวเร่ง ETU มีลักษณะเป็นผงสีขาว สารตัวเร่ง ETU มีความหนาแน่น 2.00 G/CM3 สารตัวเร่ง ETU ละลายในแอลกอฮอล์ สารตัวเร่ง ETU ละลายได้เล็กน้อยในน้ํา สารตัวเร่ง ETU ไม่มีมลพิษต่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย การจัดเก็บมีความเสถียร การใช้งาน: สารตัวเร่ง ETU มีเวลา SCORCH ที่มีความปลอดภัยในกระบวนการทํางานสูงและช่วยให้การวัลคาไนซ์ที่ เหมาะสม ได้อย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิการวัลคาไนซ์ปกติ แสดงให้เห็นลักษณะจลนศาสตร์การวัลคาไนซ์ และให้การวัลคาไนซ์ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีเยี่ยม (ความต้านทานแรงดึงสูง, การบีบอัดต่ํา (Low COMPRESSION SET] ไหลตัวได้ง่ายเมื่องานมีขนาดใหญ่และทนต่อความร้อนได้ดี