fbpx

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการบ่ม

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการบ่ม

                           CURING MATERIAL

      สารกลุ่มนี้จะทำให้โมเลกุลของยางเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ยางอยู่ในสถานะที่ยืดหยุ่นได้สูง หรืออาจใช้คำว่า “คงรูป” แต่ตามโรงงานมักเรียกกันว่า “ยางสุก” สารที่ทำให้ยางคงรูปแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่
• ระบบที่ใช้กำมะถัน (sulfur) นิยมใช้ในยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ส่วนใหญ่ที่มีพันธะคู่ในโมเลกุลสูง
• ระบบที่ใช้เพอร์ออกไซด์ (peroxide) ซึ่งนิยมใช้ในยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำ นอกจาก 2 ระบบดังกล่าว ยังมีการใช้สารคงรูปพวกโลหะออกไซด์ เช่น แมกนีเซียมออกไซด์และซิงก์ออกไซด์ (MgO/ZnO) ในยางสังเคราะห์บางชนิด เช่น ยางคลอโรพรีน (CR)
• ระบบยางคงรูปโดยกำมะถัน (sulphur vulcanization system)
               เป็นระบบที่เหมาะสำหรับการทำให้ยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลสูง เช่น ยางธรรมชาติหรือยาง SBR เพราะพันธะคู่คือ บริเวณที่เกิด    ปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันด้วยกำมะถัน การทำให้ยางคงรูปด้วยกำมะถันจะทำให้ยางที่ได้มีสมบัติเชิงกลที่ดี แต่มีความทนต่อความร้อนต่ำ

ระบบนี้ประกอบด้วย

– กำมะถัน ซึ่งเป็นสารคงรูป
– สารเร่งให้ยางคงรูป (accelerator) เช่น TMTD, MBT และ CBS เป็นต้น
– สารกระตุ้นสารเร่ง (activator) ได้แก่ สารอนินทรีย์พวกซิงก์ออกไซด์ (ZnO)
สารอินทรีย์พวกกรดสเตียริก (steric acid) และ สารที่เป็นด่าง (นิยมใช้ในสูตรที่มีสารที่เป็นกรดหรือซิลิการ่วมอยู่ด้วย) ได้แก่ สาร DEG (diethylene glycol)
• ระบบเพอร์ออกไซด์ (peroxide system)
           ระบบนี้สามารถใช้ในการทำให้ยางเกือบทุกชนิดคงรูป โดยเฉพาะยางสังเคราะห์ที่ไม่มี หรือ มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำ ยางที่คงรูป      ด้วยระบบนี้จะมีสมบัติเชิงกลที่ไม่ดีนัก ต้นทุนสูงกว่าระบบการคงรูปด้วยกำมะถัน และยางคงรูปที่ได้มักมีกลิ่นของ acetophenone ซึ่งเป็นผลพลอยได้ (by-product) จากการทำปฏิกิริยาวัลคาไนเซชัน แต่ว่ายางจะมีความทนต่อความร้อนสูง

ที่มา : http://www.mahidolrubber.org/files/process.pdf

error: